Why battery Swelling and Slit

ทำไมแบตเตอรี่ถึงบวม แล้วแยก

แบตเตอรี่บวม เกิดจากการใช้งานที่หนัก และยาวนาน โดยแบตเตอรี่ชนิดที่บวมง่าย เกิดจากการผลิตแบบลิเทียม โพลิเมอร์ คือการนำเอาวัสดุชนิดอ่อน มากั้นระหว่างประจุลบ และประจุบวก ซึ่งเมื่อใช้งานไปนาน ๆ จะทำให้เกิดความร้อน และมีแก๊สสะสม (อ้างอิง)

ซึ่งตัวแบตเตอรี่ประเภทนี้นิยมใส่ลงไปในอุปกรณ์ที่ต้องการความเรียบหรู บางของตัวอุปกรณ์ เช่น Slim เคส เป็นต้น ซึ่งต้องทำแบตเตอรี่ให้มีความยาว และแบนราบ เพื่อที่จะได้ใส่เข้าไปในตัวอุปกรณ์ได้อย่างแนบสนิท

และเมื่อเราใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีทั้งความร้อน และระยะเวลาใช้งานต่อวันนั้นยาวนานขึ้น ในช่วงวิกฤติโควิด 19 นี้ ก็จะทำให้แบตเตอรี่บวมได้ง่ายขึ้น

ซึ่งสามารถพบได้ทุกยี่ห้อของแลปท๊อป หรือสามาร์ทโฟน

ตัวอย่างโครงสร้างของแบตเตอรี่ชนิด ลิเทียม โพลิเมอร์ เป็นการนำเอาอิเล็กโตไลต์ของแร่ลิเทียม มาทำให้เป็นเส้นใย แล้วใส่ลงไปในตัวกลางซึ่งเป็นชนิดกึ่งของเหลว มีสถานะคล้ายเจล ซึ่งพอที่จะทำให้อิเล็กตรอนวิ่งไปมาหากันระหว่างขั้วบวก และลบได้

ซึ่งการออกแบบนี้จะทำให้แบตเตอรี่ชนิดนี้สามารถแบนจนใส่ลงไปในอุปกรณ์ที่ออกแบบไว้ได้

ซึ่งแบตเตอรี่จะมีแรงดันที่แตกต่างกัน และปริมาณของกระแสไฟฟ้าก็แตกต่างกันด้วย ขึ้นอยู่กับขนาด และการออกแบบ

แบตเตอรี่ใหญ่บางก้อนก็จะมีกระแสไม่มาก เพราะถูกพันห่อหุ้มด้วยพลาสติกที่มีความเหนียวสูง หลายรอบ เพื่อป้องกันการรั่วไหลของเจล และประจุไฟฟ้า

ผลกระทบของแบตเตอรี่บวม

ความเสียหายต่อตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ สามารถเสียหายได้ตั้งแต่น้อย ไปถึงรุนแรงมาก เช่น

  • ตัวถัง (Case) แตก เพราะแบตเตอรี่จะมีแรงดันหนาแน่นจากแก๊ส เปรียบเสมือนระบบ High Pressure เติมลมดี ๆ นี่เอง ซึ่งสามารถทำให้ตัวถังแตก บวม บิ แยกออกได้ไม่ยาก

  • ทัชเพด (Touch Pad) กดไม่ได้ หากเริ่มมีอาการนี้ ให้สัญนิษฐานไว้ก่อนว่าแบตเริ่มบวมแล้ว ควรรีบเข้าศูนย์บริการตรวจเช็ค หรือทำด้วยตัวเองอย่างระวัดระวัง

  • แบตจะเริ่มเก็บไฟได้น้อยลง หรือชาร์จเข้าช้ากว่าเดิม เป็นต้น

Touch Pad แตก

เกิดจากแบตเตอรี่บวม และดันตัวถังออกมา ซึ่งถ้าปล่อยไว้เป็นเวลานาน จะทำให้ตัวถังแตก เพิ่มความเสียหายให้กับอุปกรณ์ได้ ซึ่ง Touch Pad ก็มีราคาหลายบาท และหายากด้วย


เครื่องที่ระบายความร้อนได้ดีกว่า แบตจะบวมน้อยกว่า

ตัวอย่างเครื่องที่ระบบระบายความร้อนทำงานปกติ แบตจะไม่บวม เมื่อเทียบอายุการใช้งาน

เครื่องคุณลูกค้าที่ระบบระบายความร้อนเสีย แบตจะบวมในระยะเวลาอันรวดเร็ว

ฝุ่นละออง อุดตันทางระบายความร้อน ทำให้ความร้อนสะสมในตัวเครื่อง ซึ่งส่งผลให้แบตฯ บวมได้ง่ายขึ้น การทำความสะอาดช่องระบายความร้อน จะทำให้ยืดอายุแบตเตอรี่ได้นานขึ้น

เปิดโหมดประหยัดพลังงาน, Battery Saver
ช่วยยืดอายุแบตเตอรี่

  • สำหรับระบบปฏิบัติการวินโดว Windows ตั้งแต่ Windows 7 ขึ้นมา มีโปรดประหยัดพลังงานให้ใช้งาน เพื่อเป็นการยืดอายุแบตเตอรี่ และสำหรับบางยี่ห้อ จะมีโปรแกรมควบคุมแบตเตอรี่เข้ามาด้วย โดยทำการติดตั้งเพิ่มได้ แล้วเลือกโหมด Battery Saver หรือโหมด Balanced

  • สำหรับระบบปฏิบัติการ MacOS สามารถทำได้โดยการพักหน้าจอ การปรับแสงหน้าจอให้ลดลง เพราะ Mac จะมีการใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ตลอดเวลาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแสดงผล และประมวลผล ซึ่งทำได้โดย คลิ๊กอ่านเพิ่ม

การใช้งาน Laptop เพื่อยืดอายุแบตเตอรี่

  1. หมั่นทำความสะอาดช่องระบายความร้อนของแลปท๊อปอยู่เสมอ เช่น ปีละ 1 ครั้ง สำหรับบ้านที่มีฝุ่นละอองเยอะ เช่น มีสัตว์เลี้ยง บ้านอยู่ใกล้ถนน แหล่งที่มีฝุ่นละอองเยอะ ใกล้แหล่งน้ำ เช่น ชายทะเล แม่น้ำ ลำคลอง เพราะจะมีไอน้ำขึ้นมาจับทำให้เป็นสนิมอีกด้วย

  2. เปิดใช้งานโหมดประหยัดแบตเตอรี่ หรือโหมดป้องกันแบตเตอรี่ ให้ศึกษาตามคู่มือของแลปท๊อปแต่ละรุ่น หรือปรึกษาช่างประจำของเรา

  3. เปลี่ยนแบตเตอรี่ทุก ๆ 3 ปี สำหรับแบตชนิด Li-Polymer ส่วนแบตประเภท Li-ON จะไม่พบอาการแบตบวม

  4. ใช้งานคอมพิวเตอร์ในสภาพอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่ควรนำไปใช้บนที่นอน หรือบนผ้าปู เพราะจะทำให้เส้นใยผ้า ฝุ่นละอองเข้าไปอุดช่องระบายอากาศของพัดลมระบายความร้อน

  5. หากบ้านของท่านมีสัตว์เลี้ยงที่มีขน เช่นสุนัข แมว กระต่าย กระรอก ควรหมั่นทำความสะอาดโต๊ะอยู่เป็นประจำ เพื่อไม่ไห้ขนสัตว์เข้าไปยังช่องระบายอากาศของแลปท๊อป

  6. แบตเตอรี่ของแลปท๊อปมีไว้เพื่อป้องกันไฟฟ้าดับเท่านั้น ไม่ควรใช้งานจากแบตเตอรี่โดยไม่จำเป็น และทำการใช้จนแบตเตอรี่หมด 0% ซึ่งจะทำให้รอบของการชาร์จแบตเตอรี่ สั้นลง ถึงแม้จะไม่บวม แต่แบตก็จะไม่สามารถชาร์จประจุไฟฟ้าได้

ราคาของแบตเตอรี่ Laptop แต่ละประเภท

  • แบตประเภท Li-On แบบ Slot เสียบ ของแท้ ราคาประมาณ 1,800 - 2,500 บาท

  • แบตประเภท Li-On แบบ Slot เสียบ ของเทียบ OEM ราคาประมาณ 1,200 - 1,800 บาท

  • แบตประเภท Li-Polymer แบบฝังในเครื่อง ของแท้ ราคาประมาณ 2,500 - 3,500 บาท

  • แบตประเภท Li-Polymer แบบฝังในเครื่อง ของเทียบ OEM ราคาประมาณ 1,800 - 2,500 บาท

ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับประมาณกระแส ขนาด และความแพร่หลายของความนิยมของยี่ห้อ ซึ่งถ้าท่านใช้คอมพิวเตอร์รุ่นที่ไม่ค่อยนิยมใช้กัน แน่นอนราคาแบตเตอรี่ก็จะสูงไปด้วย เพราะผู้นำเข้าสามารถนำเข้าได้ทีละน้อย จะทำให้ราคาต้นทุนสูงไปด้วยครับ

ข้อควรระวังของแบตเตอรี่ Li-Polymer

  1. ไม่ควรทำการแกะซ่อม เพราะจะเกิดการรั่วไหลของแก๊ส และเคมี ซึ่งเป็นพิษกับระบบเลือด ทางเดินหายใจ ผิวหนัง

  2. เกิดการระเบิดหรือประกายไฟ มักจะมีกระแสไฟฟ้าที่ตกค้างอยู่ในเซลล์ของแบตเตอรี่

  3. ห้ามนำแบตที่บวมหรือเสื่อมสภาพมาทำการ DIY หรือพยายามดัดแปลง อาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้

  4. ห้ามใช้ของแหลมทิ่มจุดที่แบตเตอรี่บวมอาจทำให้เกิดประกายไฟ

  5. ห้ามทิ้งลงในเปลวไฟ หรือน้ำ เพราะอาจทำให้ระเบิด และเป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม

  6. ห้ามนำแบตเตอรี่ชนิด Li-Polymer ต่อแบบอนุกรม หรือขนาน

  7. การทิ้งแบตเตอรี่ให้ทิ้งโดยใส่กล่องแล้วเขียนว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ แล้วทิ้งแยกถังจากขยะทั่วไป หรือนำไปฝากทิ้งที่จุดรับทิ้ง ได้แก่ ร้านรับซื้อของเก่า และช่องทาง e-waste ของ AIS เป็นต้น

(อ้างอิง)

สัญญา ซาสุทธศรี เรียบเรียง